โรงเรียนของเรา

ประวัติโรงเรียน


              ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 โรงเรียนบ้านคำครั่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลคำครั่ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 28 ไร่ 3 งาน 17 ตารางวา เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านนาทุ่ง  โดยขุนกนิษฐพยาฆศึกษากร ศึกษาธิการอำเภอเดชอุดม  และนายบุญ สวานนท์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาทุ่ง  ดำเนินการจัดตั้งมีนักเรียนทั้งสิ้น 30 คน โดยมีนายหนูรับ บุญต่อ  เป็นครูคนแรก โรงเรียนเดิมใช้ศาลากลางบ้านเป็นสถานที่เรียน ต่อมานายหนูรับ บุญต่อ  ลาออกทางราชการจึงได้แต่งตั้งให้ นายสอน เสตรา  เป็นครูทำการสอนแทน
               พ.ศ. 2486 นายสอน เสตรา  ลาออกทางราชการจึงแต่งตั้งให้นายพุฒิ แสนเจริญสุขเป็นครูสอนแทน
               พ.ศ. 2492 โรงเรียนบ้านคำครั่งได้แยกตัวออกเป็นเอกเทศ ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายพุฒิแสนเจริญสุขดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก
พ.ศ. 2508 ได้รับงบประมาณ 30,000 บาทสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ซ หลังเตี้ยปลูกสร้าง ในที่ดินปัจจุบัน เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป. 1ป. 4       
               พ.ศ. 2520 นายพุฒิ แสนเจริญ  สุขเกษียณอายุราชการทางราชการ  แต่งตั้งให้ นายกรงศรีแก้ว  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่  และในปีนี้โรงเรียนได้เปิดขยายการเรียนการสอน  จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
               พ.ศ. 2529 นายพิเชฐ พิมา ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนนายกรง ศรีแก้ว
               พ.ศ. 2537 โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาและจัดขยายจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    
               พ.ศ. 2539 โรงเรียนเข้าเป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม นายพิเชฐ พิมาได้รับพิจารณาเลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ระดับ 7                
               พ.ศ. 2541 นายพิเชฐ พิมา ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ระดับ 8 และเกษียณอายุราชการ พ.ศ. 2543 ทำให้ตำแหน่งผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการลดลงเป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 นายเดชา ยืนยาว  ย้ายมาดำรงตำแหน่ง และนายประสิทธิ์ ประสมทอง อาจารย์ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองสะโนย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
                พ.ศ. 2544 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารเรียนแบบ ป. 1 ซ ใต้ถุนสูง 3 ห้องเรียน พร้อมปรับปรุงสนามใหม่     พ.ศ. 2545 ได้รับอนุญาตรื้อถอนบ้านพักครูหลังที่ 1ที่ชำรุดและย้ายโรงอาหารจากที่เดิมไปต่อกับอาคารเอนกประสงค์และขุดลอกสระน้ำพร้อมสร้างรั้วกั้น              
พ.ศ. 2546 ได้รับอนุญาตรื้อถอนบ้านพักครูหลังที่ 2 พร้อมกับได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/29 1 หลังจำนวน 4 ห้องเรียน          
               พ.ศ. 2547 นายเดชา ยืนยาว นายยุทธนา ไชยกุล ได้รับคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน
พ.ศ . 2549 จัดสร้างพุทธสถานโดยได้รับการบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา พร้อมสนามเด็กเล่น
วันที่ 1 สิงหาคม 2549 นายเดชา ยืนยาว  ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนานวล นายชัชวาล สมบูรณ์ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน
พ.ศ. 2550 ขออนุญาตรื้อถอนอาคารเรียนแบบ ป. 1 ซ จำนวน 2 หลัง และได้รับการบริจาคเงิน เพื่อดำเนินการจัดสร้างเสาธงโรงเรียนจากคณะศิษย์เก่า จำนวน 100,000 บาท             
พ.ศ. 2551 โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน  จากสมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี กิจกรรม ยุวเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ          
พ.ศ. 2552 คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชนบ้านคำครั่ง  พร้อมใจกันบริจาคเงินเพื่อดำเนินการก่อสร้าง อาคารเรียนแบบสร้างเองขึ้นเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนจำนวน 4 ห้องเรียน โดยมี ดร.วิชัย แสงสี เป็นผู้รับมอบอาคาร เพื่อใช้ในการประกอบการเรียนการสอน และส่งเด็กหญิงประกายรัตน์ ชัยนาม เพื่อขอรับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2553 เด็กหญิงประกายรัตน์ ชัยนาม ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและเข้ารับโล่ พร้อมเกียรติบัตรจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 8 มกราคม 2553 และโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรดีเด่น ยุวเกษตรดีเด่น ครูที่ปรึกษากลุ่ม ยุวเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัดจำนวน 3 รายการ
พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในโรงเรียนจำนวน 1,200,000 บาท พร้อมงบซ่อมแซมอาคารเรียนจำนวน 100,000บาท              
พ.ศ. 2555 ได้รับงบก่อสร้างถนนคอนกรีตภายในบริเวณโรงเรียนระยะทาง 141 เมตร เป็นเงิน 500,000 บาท ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนบริจาคเงิน ก่อสร้างถนนคอนกรีต เพิ่มเติมระยะทาง 100 เมตร เป็นเงิน 200,000 บาท และโรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลคำครั่ง เปิดทำการสอนโดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ต่อมาในปีการศึกษา 2553 ได้เปิดทำการสอนโดยใช้หลักสูตรโรงเรียนบ้านคำครั่ง พุทธศักราช 2553 ตามหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 
 

วิสัยทัศน์ - พันธกิจ

วิสัยทัศน์



โรงเรียนบ้านคำครั่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
คุณธรรมนำความรู้ นำชุมชนสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ปณิธาน


สร้างนักเรียนดี มีครูที่เก่ง เน้นคุณภาพ ได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พันธกิจ


               1. พัฒนาและส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมี คุณภาพโดยการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ คุณธรรม ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล
                2. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                3. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต  
                4. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย        
                5. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรักชาติ  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข       
                6. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข
                7. ส่งเสริมพัฒนาให้ครูทุกคน สามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างครูมืออาชีพ          
                8. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองชุมชนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา                                    
                9. ส่งเสริมการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน      

เป้าประสงค์

นักเรียนโรงเรียนบ้านคำครั่ง ทุกคน ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ตามความสามารถ ด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อประกอบอาชีพ และดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ภายใต้สังคม และวัฒนธรรมไทย รักการแสวงหาความรู้อย่างไม่สิ้นสุดรู้ทันการเปลี่ยนแปลงสามารถแข่งขันกับสังคมโลกได้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา น้อมนำพาสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น